เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [2. ทุกนิบาต] 9. อุปาหนวรรค 3. วิกัณณกชาดก (233)
2. วีณาถูณชาดก (232)
ว่าด้วยชายค่อมนอนขดเหมือนคันพิณ
(เศรษฐีโพธิสัตว์สนทนากับธิดาเศรษฐีว่า)
[163] เจ้าคนเดียวเท่านั้นที่คิดอย่างนี้
ชายค่อมผู้โง่เขลาคนนี้ไม่อาจจะเป็นผู้นำได้
นางผู้เจริญ เจ้าไม่ควรจะร่วมทางกับคนค่อมคนนี้เลย
(ธิดาเศรษฐีฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้วว่า)
[164] ดิฉันเข้าใจว่าชายค่อมเป็นคนองอาจ จึงได้รักใคร่เขา
เขานอนขดอยู่อย่างนี้ ดุจคันพิณที่สายขาด
วีณาถูณชาดกที่ 2 จบ

3. วิกัณณกชาดก (233)
ว่าด้วยกามคุณเช่นกับชนัก
(เจ้าหน้าที่จัดอาหารพูดกับจระเข้ว่า)
[165] เจ้าจงไปในสถานที่ที่เจ้าปรารถนาเถิด
เจ้าถูกชนักแทงในที่อันสำคัญ
อนึ่ง เจ้าเบื่อ ๆ อยาก ๆ ในอาหาร
เฝ้าติดตามฝูงปลาอยู่ ถูกอาหารเคล้าเสียงกลองขจัดเสียแล้ว
(พระศาสดาครั้นทรงแสดงชาดกนี้แล้ว จึงตรัสว่า)
[166] บุคคลผู้คล้อยตามโลกามิส1อย่างนี้
อนุวัตตามอำนาจจิตย่อมเดือดร้อน
บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนท่ามกลางหมู่ญาติมิตรสหาย
เหมือนจระเข้ตัวติดตามฝูงปลาถูกชนักแทง
วิกัณณกชาดกที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า โลกามิส ได้แก่ กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เรียกว่าโลกามิส (เหยื่อสำหรับโลก)
นั้น เพราะกามคุณทั้ง 5 นี้ถือว่าเป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ขุ.ชา.อ. 3/166/230)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :109 }